ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” สำหรับการสร้างบ้าน ตอนที่ 2
ยังมีวิธีไหนที่จะช่วยป้องกัน ปัญหา “เบี้ยหัวแตก” ได้อีกบ้าง หลังจาก บทความตอนที่แล้ว ได้ระบุสาเหตุของการเกิดปัญหาไปแล้ว บทนี้จะขอนำเสนอเพื่อเติมว่าเราควรทำอย่างไรกันดี มาเริ่มกันเลยครับ 1. ต้องกำหนดสเปคทุกอย่างให้สมบูรณ์ที่สุดในรายการประกอบแบบ (สำหรับ เพื่อนๆ ที่ไม่รู้จักรายการประกอบแบบว่าคืออะไร ขออธิบายสั้นๆ ว่าคือ รายการที่กำหนดรายละเอียดสเปคของที่ใช้ทั้งหมดในบ้านเลยครับ) เราต้องหารายการวัสดุที่เราต้องการให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เดี๋ยวผมจะมารีวิวให้ที่ละรายการที่น่าสนใจ (บางรายการเพื่อนๆ อาจไม่ค่อยได้ยินก็เป็นได้ครับ) 2. ถ้าต้องการต่อเติมอะไรก็แล้วแต่ที่มีเกินจากแบบบ้านที่เลือกมา ให้จัดการให้ทางบริษัทฯ ออกแบบให้เรียบร้อยก่อนทำสัญญาเลยนะครับ เพราะว่ามันเกี่ยวโยงไปถึงการเตรียมการตอกเข็ม และทำคานคอดิน เผื่อไว้ก่อน (แม้ว่ายังไม่ก่อสร้าง) เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การทำฐานรากรองรับไว้แม้ว่าจะยังไม่พร้อมที่จะต่อเติมวันนี้ (แต่จริงๆ แนะนำให้กลั้นใจทำงานโครงสร้างให้เสร็จไปในคราวเดียว ปัญหาด้วยการทรุด และแตกร้าวจะไม่มีครับ เพราะใช้โครงสร้างเดียวกัน ก็จะทรุดเท่าๆ กัน เลยไม่แตกร้าว) 3. กรณีอยากสร้างบ้าน 3 ชั้น เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยมากขึ้นในอนาคตเวลามีลูกหลายๆ คน ก็อาจจะให้ออกแบบโครงสร้าง ฐานราก เสาเข็ม รอไว้ก็ได้ครับ แต่อาจสร้างแค่สองชั้นไปก่อน แล้วค่อยต่อเติมทีหลัง แต่ก็ไม่แนะนำครับ ถ้างบประมาณพอลุยทีเดียวดีกว่า ไม่วุ่นทีหลัง 4. ถ้าต้องการทำรั้วบ้านด้วย แนะนำให้ออกแบบไปพร้อมกันเลยครับ […]