5 ระบบต้องตรวจ! เมื่อตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง (รีวิว Pantip เวอร์ชั่น)
ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่า “ตรวจบ้าน ก่อนโอน” คืออะไร? หลายๆ ท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจบ้าน หรือหลายๆ ท่าน ที่กำลังมองหาบริษัท เพื่อเป็นตัวแทนในการตรวจบ้าน ก่อนโอน
ซึ่งในปัจจุบันบริษัท หรือ ตัวแทนที่รับตัวบ้าน ก็มีมากมายให้เลือก หรือ บางท่านที่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อบ้านก็เคยตรวจเองมาบ้าง ซึ่งก็มีรีวิวหรือผู้ที่ให้ความรู้มากมายตามแพลตฟอร์มต่างๆ ท่านก็สามารถศึกษาเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่หากท่านเป็นมือใหม่ที่กำลังอยากทราบถึงความหมาย ขั้นตอน หรือวิธีการ ในการตรวจบ้าน ผมจะมาอธิบายให้ฟังนะครับ
การตรวจบ้าน ก่อนโอน ก็คือ การตรวจเช็ครายการแก้ไข ตรวจสอบความถูกต้อง ฟังก์ชันการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน หรือภาษาช่างที่เรียกๆกันก็คือ ดีเฟค (deflect) ก่อนที่ลูกค้าจะมีการรับโอนบ้าน โดยปกติทั่วไปแล้วทางโครงการที่ขายบ้านจะกำหนดให้สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด 2 ครั้ง
การตรวจเช็คบ้าน ก่อนโอน ครั้งที่ 1
เป็นครั้งแรกที่เข้าไปตรวจเช็คบ้าน กับทางโครงการ โดยปกติทางโครงการจะรับรายการแก้ไขจากคุณลูกค้า เพื่อดำเนินการแก้ไข โดยความสำคัญของการตรวจรับแรก “จะต้องแจ้งรายการแก้ไขให้กับโครงการให้ครบถ้วนมากที่สุด” เพราะทางโครงการมักจะ “ไม่ค่อยยอมให้ลูกค้า เพิ่มดีเฟคในภายหลัง”
การตรวจเช็คบ้าน ก่อนโอน ครั้งที่ 2
จะเกิดขึ้นหลังจากที่โครงการได้แก้ไขตามรายการที่ลูกค้าแจ้งใน รายงานการตรวจเช็คบ้าน ครั้งที่ 1 ครบถ้วนแล้ว และทางโครงการก็จะนัดทางลูกค้าเข้าไปตรวจเช็คตามรายการในรอบแรก หากไม่มีรายการดีเฟคคงค้าง ก็จะถือว่าสามารถรับมอบ หรือโอนบ้านได้แล้วละครับ
เรามาเข้าถึงประเด็นตามหัวข้อ “5 ระบบต้องตรวจ! เมื่อตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง” โดยสามารถแบ่งการตรวจบ้านออกเป็น 5 ระบบหลักๆ ดังนี้
- ตรวจงานโครงสร้าง
- ตรวจงานสถาปัตย์/งานตกแต่งภายใน
- ตรวจงานระบบไฟฟ้า
- ตรวจงานระบบสุขาภิบาล
- ตรวจงานโครงหลังคา
มาทำความเข้าใจงานแต่ละระบบกันครับ
-
การตรวจสอบโครงสร้างของตัวบ้าน
เช่น เสา พื้น คาน ซึ่งงานโครงสร้างนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของตัวบ้าน บ้านจะทรุด จะพัง ก็อยู่ที่งานโครงสร้างนะครับ ถ้าหากโครงสร้างไม่ดี ก็จะมีปัญหาอื่นๆตามมามากมายในภายหลัง ปกติเวลาที่เข้าไปดูบ้านหลังที่เราจะซื้อ จะเป็นบ้านโล่งๆ เราจะสามารถดูหรือตรวจเช็คได้ เราต้องดูว่าบ้านหลังนั้นมี “รอยแตกร้าวที่เกิดจากโครงสร้างหรือไม่” (อ่านต่อ .. รอยร้าวทางโครงสร้าง)
ทั้งนี้ บ้านมีการทรุดตัวมากกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบ้านที่สร้างใหม่ 1-2 ปีแรก จะมีการทรุดตัวเป็นธรรมดา แต่ต้องคอยสังเกต ว่ามีการทรุดตัวมากแค่ไหน
-
ตรวจงานสถาปัตยากรรม / งานตกแต่งภายใน
คือการตรวจสอบงานตกแต่งความสวยงามของบ้าน
- ตรวจสอบงานฉาบทาสีผนัง โดยฉาบทาสีผนัง เราก็จะตรวจดูว่าฉาบทาสีเรียบไหม บางครั้งเราจะเจอผนังฉาบทาสีเป็นรูโพรงตามด หรือบางครั้งอาจจะฉาบไม่เรียบ ซึ่งถ้าหากทาสีทับจะทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้น หรือบางครั้งแปรง หรืออุปกรณ์ที่ช่างนำมาใช้งานอาจไม่มีคุณภาพ อาจเป็นมีขนแปรงติดที่ผนัง หรือ สีไม่เรียบเนียนได้
- งานปูกระเบื้องพื้น
- ตรวจสอบหาพื้นกระเบื้องโพรง เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจเจอปัญหากระเบื้องแตกหากมีอะไรไปกระแทกแรงๆ เพราการปูกระเบื้องที่ถูกต้องจะต้องใส่ปูนให้เต็มพื้นที่แผ่น ให้เหลือโพรงหรือพื้นที่ช่องว่างให้น้อยที่สุด
- กรณีกระเบื้องพื้น และผนังในห้องน้ำ ต้องไม่มีโพรง เพราะบริเวณในห้องน้ำมีความชื้นสูง หากกระเบื้องผนังโพรงหรือกระเบื้องพื้นโพรง อาจทำให้น้ำซึมเข้าไปด้านในและอาจทำให้กระเบื้องหลุดร่อนออกมาได้
- กรณีการเป็นโพรงที่พื้นห้องน้ำ อาจทำให้น้ำซึมจากพื้นห้องน้ำชั้น 2 ลงมายัง ฝ้าเพดานชั้นล่าง
- ตรวจสอบรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้องจะต้องไม่กระเดิดขึ้นสัน ไม่กระเดิด
- หากเป็นกระเบื้องที่มีลายการปูกระเบื้องก็จะต้องปูให้ถูกตามแบบ pattern เพื่อความสวยงาม
- การตรวจสอบกระเบื้องโพรง ทำได้โดยการเคาะกระเบื้องให้ทั่วแผ่น เพื่อฟังเสียง และถ้าหากเจอกระเบื้องโพรง เสียงที่เราเคาะจะก้องๆ ต่างจากกระเบื้องทั่วไป
- การตรวจเรื่องการรั่วซึม , และหากเป็นห้องน้ำชั้น2 เราต้องทำการขังน้ำที่พื้นเพื่อตรวจสอบหาน้ำรั่วซึมบนฝ้าชั้นล่าง โดยมาตรฐานงานก่อสร้างแล้ว พื้นห้องน้ำจะมีการทำกันซึมที่พื้นโครงสร้าง โดยจะเป็นน้ำยาผสมในคอนกรีต เพื่อเทพื้นห้องน้ำชั้น 2 ดังนั้นทดสอบด้วยการขังน้ำให้ท่วมผิวกระเบื้อง ประมาณ 20-30 นาที เพื่อตรวจหาน้ำซึมลงมายังฝ้าชั้นล่าง
- งานฝ้าเพดาน การตรวจรอยต่อแผ่นฝ้าเพดาน ตรวจงานทาสีฝ้าคล้ายๆกับการตรวจผนังฉาบทาสี สีทาบนฝ้าจะต้องทาให้ทั่วบริเวณ สีเรียบเนียน สม่ำเสมอกัน และรอยต่อฝ้าก็ต้องเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว
- งานปูพื้นไม้ลามิเนต โดยโครงการในปัจจุบันมักจะติดตั้งพื้นลามิเนตที่ชั้นบน
- ข้อดี คือ ให้ความสวยงาม มีความเป็นธรรมชาติ มีลวดลายไม้
- ข้อเสีย คือ “ไม่ถูกกับน้ำ” เพราะพื้นลามิเนตมีส่วนประกอบเป็นเศษไม้มาอัดรวมกัน ถ้าหากมีน้ำซึมลงไปตามรอยต่อแผ่นพื้นไม้ลามิเนต จะทำให้ชื้นและบวมได้ จนต้องรื้อเปลี่ยนใหม่
- การตรวจสอบการปูพื้นไม้ลามิเนต เราจะตรวจหาพื้นยวบ โดยส่วนมากแล้วจะยวบตามขอบพื้นซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จะทำให้ห้องมีฝุ่นเยอะ เพราะฝุ่นจะเข้าไปอยู่ขอบพื้น และในบางครั้งระหว่างที่ช่างติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต อาจทำให้ขอบพื้นไม้บิ่นเสียหาย หากตรวจเจอต้องแจ้งให้โครงการแก้ไข,
- งานติดตั้งประตูหน้าต่าง งานติดตั้งประตูหน้าต่าง
- การตรวจเช็คหาน้ำรั่วซึมที่มุมหน้าต่าง โดยจะใช้น้ำฉีดเทสจากภายนอก เพื่อหาจุดที่น้ำรั่วซึม และถ้าให้แม่นยำควรใช้กล้องอินฟาเรดตรวจหาความชื้นตามจุดต่างๆ
- ตรวจสอบการติดตั้งเฟรมหน้าต่างว่ามีรอยครูดเสียหาย หน้าต่างบานเลื่อนปิดล็อคได้ปกติหรือไม่
- กระจกเป็นรอยข่วนแมวหรือไม่
- งานติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ
- ติดตั้งแน่นหนา สวยงาม และถูกต้องตามฟังก์ชั่นการใช้งาน
- ตรวจสอบชักโครกติดแน่นหรือไม่
- ถังพักน้ำของชักโครก มีสิ่งสกปรกหรือไม่
- อ่างล้างหน้าช่องน้ำล้นอุดตันหรือไม่
- มีน้ำรั่วซึมที่ท่อน้ำต่างๆ หรือ P-Trap ด้านใต้อ่างล้างหน้าหรือไม่
- ตรวจสอบริ้วรอยที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฝักบัวอาบน้ำ กระจก
- กระจกส่องหน้า ปรอทลอกไหม
3 ตรวจงานระบบไฟฟ้า
- ระบบไฟฟ้าเราต้องทำการตรวจเช็คปลั๊กทุกจุดว่าต่อสายสลับหรือไม่
- ระบบป้องกันไฟรั่วทำงานปกติ สามารถตัดไฟกรณีตรวจเจอไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ใช้อาศัย
- การตรวจเช็คตู้เมนไฟฟ้าก็เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เพราะขนาดของเบรกเกอร์ กับขนาดของสายไฟต้องมีความถูกต้อง ตามมาตรฐานการไฟฟ้าฯ
4 งานระบบสุขาภิบาล และบำบัดน้ำเสีย
- ตรวจเช็คว่าท่อระบายน้ำอุดตันไหม
- ตรวจสอบการระบายน้ำ ว่าสามารถระบายน้ำทิ้งได้จริง ในทุกระบบน้ำทิ้งจาก floor drain ในห้องน้ำ, อ่างล้างหน้า และชักโครก
- ตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งจากบ่อพักต่างๆ ไหลออกไปยังท่อระบายน้ำของโครงการได้ไหม
- *ที่สำคัญ กรณีบ่อพักของท่อระบายน้ำ ที่มีความลึกที่ต้องใช้บ่อพักซ้อนกัน จะต้องเก๊าปูนรอยต่อบ่อพัก เพื่อป้องกันไม่ให้มีช่องว่างเพื่อที่ดินสไลค์ลงไปอุดตันภายในท่อระบายน้ำ
- การตรวจเช็คชักโครกอาจใช้ขนมปังแผ่นใส่ไปที่ชักโครก แล้วทำการกดชักโครก แล้วลงมาดูที่ถังบำบัดน้ำเสีย ว่ามีขนมปังแผ่นที่ใส่ไปหรือไม่
- การตรวจเช็คถังบำบัด
- ตรวจสอบเศษวัสดุค้างอยู่ในถังไหม
- ต้องมีอุปกรณ์ในถังบำบัดฯ ให้ครบ เช่น อุปกรณ์ Media ซึ่งเป็นไว้ให้จุลินทรีย์เกาะ
- ในถังจะต้องมีน้ำอยู่ตลอดกรณีน้ำในถังแห้งแสดงว่าถังแตกชำรุด
- การตรวจถังดักไขมันก็ต้องดูว่าในถังมีตะกร้าดักไขมันอยู่ไหม
- ตรวจเช็คระดับน้ำในถังบำบัด และถังดักไขมัน ระดับน้ำที่ถูกต้องจะต้องอยู่ที่ท้องท่อขาออกจากถัง
- การตรวจดูบ่อดักกลิ่นก็ต้องดูว่า ปลายท่อขาเข้าในบ่อจะต้องมีข้องอกันกลิ่นย้อนกลับ
5 ตรวจงานโครงหลังคา
- โดยจะต้องไม่มีช่องแสงเข้ามาได้ ซึ่งอาจเกิดจากปูกระเบื้องไม่สนิท อันเป็นต้นเหตุของน้ำรั่วซึมจากหลัวคาได้
- ตามชายคาจะต้องมีแผ่นตะแกรงปิดกันนกเข้าไปทำรัง
- โครงหลังคาทุกจุดจะต้องมีการยึดน็อตที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
- ส่วนการตรวจเช็คภายนอกอาจใช้โดรนบินเพื่อหากระเบื้องหลังคาที่แตกเสียหาย เพราะบางครั้งไม่สามารถมองจากด้านใต้โครงหลังคาออกมาได้
- ตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้า ซึ่งต้องร้อยท่อ และใช้กล่องต่อสายไฟ ให้เรียบร้อย
จากที่ได้อธิบายเกี่ยวกับการตรวจเช็คบ้าน ตามเนื้อหาด้านบนนี้ เป็นเรื่องหลักๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ในการตรวจเช็คบ้าน ซึ่งบ้านแต่ละหลังแต่ละโครงการรายละเอียดหรือจุดแก้ไขก็จะไม่เหมือนกัน การเลือกผู้มีความรู้และประกบการณ์ในการตรวจเช็คบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบ้านเป็นทรัพย์สินที่มีราคาแพง ถ้าอยู่แล้วสบาย ไม่มีปัญหารบกวน ก็คงไม่มีใครอยากเปลี่ยนบ้านบ่อยๆ
เพราะปัญหาหลังจากการที่เข้าอยู่แล้วนั้น ป้องกันได้ด้วยการ ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน โดยผู้ชำนาญการจาก Home Check Up ยินดีให้บริการครับ
Download=> แจกฟรี !!! แบบฟอร์มตรวจดีเฟค บ้าน และคอนโด
10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี
ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP1
ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP2
สนใจบริการตรวจบ้านก่อนหมดประกัน
Facebook : Homecheckup
LineID : @homecheckup
IG : homecheckup.ig
Tel : 085-481-3536 (คุณกานต์)
10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี
ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP1
ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP2
สนใจบริการตรวจบ้านก่อนหมดประกัน
Facebook : Homecheckup
LineID : @homecheckup
IG : homecheckup.ig
Tel : 085-481-3536 (คุณกานต์)