5 ระบบต้องตรวจ! รับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง (Pantip เวอร์ชั่น)

5 ระบบต้องตรวจ! เมื่อตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง (รีวิว Pantip เวอร์ชั่น)

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่าตรวจบ้าน ก่อนโอน” คืออะไร? หลายๆ ท่านอาจจะเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจบ้าน หรือหลายๆ ท่าน ที่กำลังมองหาบริษัท เพื่อเป็นตัวแทนในการตรวจบ้าน ก่อนโอน

ซึ่งในปัจจุบันบริษัท หรือ ตัวแทนที่รับตัวบ้าน ก็มีมากมายให้เลือก หรือ บางท่านที่เคยมีประสบการณ์ในการซื้อบ้านก็เคยตรวจเองมาบ้าง ซึ่งก็มีรีวิวหรือผู้ที่ให้ความรู้มากมายตามแพลตฟอร์มต่างๆ  ท่านก็สามารถศึกษาเพื่อเป็นแนวทางได้ แต่หากท่านเป็นมือใหม่ที่กำลังอยากทราบถึงความหมาย ขั้นตอน หรือวิธีการ ในการตรวจบ้าน ผมจะมาอธิบายให้ฟังนะครับ

การตรวจบ้าน ก่อนโอน ก็คือ การตรวจเช็ครายการแก้ไข ตรวจสอบความถูกต้อง ฟังก์ชันการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้าน หรือภาษาช่างที่เรียกๆกันก็คือ ดีเฟค (deflect) ก่อนที่ลูกค้าจะมีการรับโอนบ้าน โดยปกติทั่วไปแล้วทางโครงการที่ขายบ้านจะกำหนดให้สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด 2 ครั้ง

การตรวจเช็คบ้าน ก่อนโอน ครั้งที่ 1

เป็นครั้งแรกที่เข้าไปตรวจเช็คบ้าน กับทางโครงการ โดยปกติทางโครงการจะรับรายการแก้ไขจากคุณลูกค้า เพื่อดำเนินการแก้ไข โดยความสำคัญของการตรวจรับแรก จะต้องแจ้งรายการแก้ไขให้กับโครงการให้ครบถ้วนมากที่สุด” เพราะทางโครงการมักจะ ไม่ค่อยยอมให้ลูกค้า เพิ่มดีเฟคในภายหลัง”

การตรวจเช็คบ้าน ก่อนโอน ครั้งที่ 2

จะเกิดขึ้นหลังจากที่โครงการได้แก้ไขตามรายการที่ลูกค้าแจ้งใน รายงานการตรวจเช็คบ้าน ครั้งที่ 1 ครบถ้วนแล้ว และทางโครงการก็จะนัดทางลูกค้าเข้าไปตรวจเช็คตามรายการในรอบแรก หากไม่มีรายการดีเฟคคงค้าง ก็จะถือว่าสามารถรับมอบ หรือโอนบ้านได้แล้วละครับ

เรามาเข้าถึงประเด็นตามหัวข้อ “5 ระบบต้องตรวจ! เมื่อตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง” โดยสามารถแบ่งการตรวจบ้านออกเป็น 5 ระบบหลักๆ ดังนี้

  1. ตรวจงานโครงสร้าง
  2. ตรวจงานสถาปัตย์/งานตกแต่งภายใน
  3. ตรวจงานระบบไฟฟ้า
  4. ตรวจงานระบบสุขาภิบาล
  5. ตรวจงานโครงหลังคา

มาทำความเข้าใจงานแต่ละระบบกันครับ

  1. การตรวจสอบโครงสร้างของตัวบ้าน

เช่น เสา พื้น คาน ซึ่งงานโครงสร้างนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของตัวบ้าน บ้านจะทรุด จะพัง ก็อยู่ที่งานโครงสร้างนะครับ ถ้าหากโครงสร้างไม่ดี ก็จะมีปัญหาอื่นๆตามมามากมายในภายหลัง ปกติเวลาที่เข้าไปดูบ้านหลังที่เราจะซื้อ จะเป็นบ้านโล่งๆ เราจะสามารถดูหรือตรวจเช็คได้ เราต้องดูว่าบ้านหลังนั้นมี รอยแตกร้าวที่เกิดจากโครงสร้างหรือไม่ (อ่านต่อ .. รอยร้าวทางโครงสร้าง)

ทั้งนี้ บ้านมีการทรุดตัวมากกว่าปกติหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วบ้านที่สร้างใหม่ 1-2 ปีแรก จะมีการทรุดตัวเป็นธรรมดา แต่ต้องคอยสังเกต ว่ามีการทรุดตัวมากแค่ไหน

  1. ตรวจงานสถาปัตยากรรม / งานตกแต่งภายใน

คือการตรวจสอบงานตกแต่งความสวยงามของบ้าน

  • ตรวจสอบงานฉาบทาสีผนัง โดยฉาบทาสีผนัง เราก็จะตรวจดูว่าฉาบทาสีเรียบไหม บางครั้งเราจะเจอผนังฉาบทาสีเป็นรูโพรงตามด หรือบางครั้งอาจจะฉาบไม่เรียบ ซึ่งถ้าหากทาสีทับจะทำให้เห็นชัดเจนมากขึ้น หรือบางครั้งแปรง หรืออุปกรณ์ที่ช่างนำมาใช้งานอาจไม่มีคุณภาพ อาจเป็นมีขนแปรงติดที่ผนัง หรือ สีไม่เรียบเนียนได้
  • งานปูกระเบื้องพื้น
    • ตรวจสอบหาพื้นกระเบื้องโพรง เพราะถ้าหากปล่อยทิ้งไว้อาจเจอปัญหากระเบื้องแตกหากมีอะไรไปกระแทกแรงๆ เพราการปูกระเบื้องที่ถูกต้องจะต้องใส่ปูนให้เต็มพื้นที่แผ่น ให้เหลือโพรงหรือพื้นที่ช่องว่างให้น้อยที่สุด
    • กรณีกระเบื้องพื้น และผนังในห้องน้ำ ต้องไม่มีโพรง เพราะบริเวณในห้องน้ำมีความชื้นสูง หากกระเบื้องผนังโพรงหรือกระเบื้องพื้นโพรง อาจทำให้น้ำซึมเข้าไปด้านในและอาจทำให้กระเบื้องหลุดร่อนออกมาได้
    • กรณีการเป็นโพรงที่พื้นห้องน้ำ อาจทำให้น้ำซึมจากพื้นห้องน้ำชั้น 2 ลงมายัง ฝ้าเพดานชั้นล่าง
    • ตรวจสอบรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้องจะต้องไม่กระเดิดขึ้นสัน ไม่กระเดิด
    • หากเป็นกระเบื้องที่มีลายการปูกระเบื้องก็จะต้องปูให้ถูกตามแบบ pattern เพื่อความสวยงาม
    • การตรวจสอบกระเบื้องโพรง ทำได้โดยการเคาะกระเบื้องให้ทั่วแผ่น เพื่อฟังเสียง และถ้าหากเจอกระเบื้องโพรง เสียงที่เราเคาะจะก้องๆ ต่างจากกระเบื้องทั่วไป
  • การตรวจเรื่องการรั่วซึม , และหากเป็นห้องน้ำชั้น2 เราต้องทำการขังน้ำที่พื้นเพื่อตรวจสอบหาน้ำรั่วซึมบนฝ้าชั้นล่าง โดยมาตรฐานงานก่อสร้างแล้ว พื้นห้องน้ำจะมีการทำกันซึมที่พื้นโครงสร้าง โดยจะเป็นน้ำยาผสมในคอนกรีต เพื่อเทพื้นห้องน้ำชั้น 2 ดังนั้นทดสอบด้วยการขังน้ำให้ท่วมผิวกระเบื้อง ประมาณ 20-30 นาที เพื่อตรวจหาน้ำซึมลงมายังฝ้าชั้นล่าง
  • งานฝ้าเพดาน การตรวจรอยต่อแผ่นฝ้าเพดาน ตรวจงานทาสีฝ้าคล้ายๆกับการตรวจผนังฉาบทาสี สีทาบนฝ้าจะต้องทาให้ทั่วบริเวณ สีเรียบเนียน สม่ำเสมอกัน และรอยต่อฝ้าก็ต้องเรียบเนียน ไม่มีรอยแตกร้าว
  • งานปูพื้นไม้ลามิเนต โดยโครงการในปัจจุบันมักจะติดตั้งพื้นลามิเนตที่ชั้นบน
    • ข้อดี คือ ให้ความสวยงาม มีความเป็นธรรมชาติ มีลวดลายไม้
    • ข้อเสีย คือ ไม่ถูกกับน้ำเพราะพื้นลามิเนตมีส่วนประกอบเป็นเศษไม้มาอัดรวมกัน ถ้าหากมีน้ำซึมลงไปตามรอยต่อแผ่นพื้นไม้ลามิเนต จะทำให้ชื้นและบวมได้ จนต้องรื้อเปลี่ยนใหม่
    • การตรวจสอบการปูพื้นไม้ลามิเนต เราจะตรวจหาพื้นยวบ โดยส่วนมากแล้วจะยวบตามขอบพื้นซึ่งถ้าหากปล่อยไว้จะทำให้ห้องมีฝุ่นเยอะ เพราะฝุ่นจะเข้าไปอยู่ขอบพื้น และในบางครั้งระหว่างที่ช่างติดตั้งพื้นไม้ลามิเนต อาจทำให้ขอบพื้นไม้บิ่นเสียหาย หากตรวจเจอต้องแจ้งให้โครงการแก้ไข,
  • งานติดตั้งประตูหน้าต่าง งานติดตั้งประตูหน้าต่าง
    • การตรวจเช็คหาน้ำรั่วซึมที่มุมหน้าต่าง โดยจะใช้น้ำฉีดเทสจากภายนอก เพื่อหาจุดที่น้ำรั่วซึม และถ้าให้แม่นยำควรใช้กล้องอินฟาเรดตรวจหาความชื้นตามจุดต่างๆ
    • ตรวจสอบการติดตั้งเฟรมหน้าต่างว่ามีรอยครูดเสียหาย หน้าต่างบานเลื่อนปิดล็อคได้ปกติหรือไม่
    • กระจกเป็นรอยข่วนแมวหรือไม่
  • งานติดตั้งสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ
    • ติดตั้งแน่นหนา สวยงาม และถูกต้องตามฟังก์ชั่นการใช้งาน
    • ตรวจสอบชักโครกติดแน่นหรือไม่
    • ถังพักน้ำของชักโครก มีสิ่งสกปรกหรือไม่
    • อ่างล้างหน้าช่องน้ำล้นอุดตันหรือไม่
    • มีน้ำรั่วซึมที่ท่อน้ำต่างๆ หรือ P-Trap ด้านใต้อ่างล้างหน้าหรือไม่
    • ตรวจสอบริ้วรอยที่อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฝักบัวอาบน้ำ กระจก
    • กระจกส่องหน้า ปรอทลอกไหม

3 ตรวจงานระบบไฟฟ้า

  • ระบบไฟฟ้าเราต้องทำการตรวจเช็คปลั๊กทุกจุดว่าต่อสายสลับหรือไม่
  • ระบบป้องกันไฟรั่วทำงานปกติ สามารถตัดไฟกรณีตรวจเจอไฟรั่ว เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ใช้อาศัย
  • การตรวจเช็คตู้เมนไฟฟ้าก็เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เพราะขนาดของเบรกเกอร์ กับขนาดของสายไฟต้องมีความถูกต้อง ตามมาตรฐานการไฟฟ้าฯ

4 งานระบบสุขาภิบาล และบำบัดน้ำเสีย

  • ตรวจเช็คว่าท่อระบายน้ำอุดตันไหม
  • ตรวจสอบการระบายน้ำ ว่าสามารถระบายน้ำทิ้งได้จริง ในทุกระบบน้ำทิ้งจาก floor drain ในห้องน้ำ, อ่างล้างหน้า และชักโครก
  • ตรวจสอบการระบายน้ำทิ้งจากบ่อพักต่างๆ ไหลออกไปยังท่อระบายน้ำของโครงการได้ไหม
  • *ที่สำคัญ กรณีบ่อพักของท่อระบายน้ำ ที่มีความลึกที่ต้องใช้บ่อพักซ้อนกัน จะต้องเก๊าปูนรอยต่อบ่อพัก เพื่อป้องกันไม่ให้มีช่องว่างเพื่อที่ดินสไลค์ลงไปอุดตันภายในท่อระบายน้ำ
  • การตรวจเช็คชักโครกอาจใช้ขนมปังแผ่นใส่ไปที่ชักโครก แล้วทำการกดชักโครก แล้วลงมาดูที่ถังบำบัดน้ำเสีย ว่ามีขนมปังแผ่นที่ใส่ไปหรือไม่
  • การตรวจเช็คถังบำบัด
    • ตรวจสอบเศษวัสดุค้างอยู่ในถังไหม
    • ต้องมีอุปกรณ์ในถังบำบัดฯ ให้ครบ เช่น อุปกรณ์ Media ซึ่งเป็นไว้ให้จุลินทรีย์เกาะ
    • ในถังจะต้องมีน้ำอยู่ตลอดกรณีน้ำในถังแห้งแสดงว่าถังแตกชำรุด
    • การตรวจถังดักไขมันก็ต้องดูว่าในถังมีตะกร้าดักไขมันอยู่ไหม
    • ตรวจเช็คระดับน้ำในถังบำบัด และถังดักไขมัน ระดับน้ำที่ถูกต้องจะต้องอยู่ที่ท้องท่อขาออกจากถัง
    • การตรวจดูบ่อดักกลิ่นก็ต้องดูว่า ปลายท่อขาเข้าในบ่อจะต้องมีข้องอกันกลิ่นย้อนกลับ

5 ตรวจงานโครงหลังคา

  • โดยจะต้องไม่มีช่องแสงเข้ามาได้ ซึ่งอาจเกิดจากปูกระเบื้องไม่สนิท อันเป็นต้นเหตุของน้ำรั่วซึมจากหลัวคาได้
  • ตามชายคาจะต้องมีแผ่นตะแกรงปิดกันนกเข้าไปทำรัง
  • โครงหลังคาทุกจุดจะต้องมีการยึดน็อตที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
  • ส่วนการตรวจเช็คภายนอกอาจใช้โดรนบินเพื่อหากระเบื้องหลังคาที่แตกเสียหาย เพราะบางครั้งไม่สามารถมองจากด้านใต้โครงหลังคาออกมาได้
  • ตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้า ซึ่งต้องร้อยท่อ และใช้กล่องต่อสายไฟ ให้เรียบร้อย

จากที่ได้อธิบายเกี่ยวกับการตรวจเช็คบ้าน ตามเนื้อหาด้านบนนี้ เป็นเรื่องหลักๆ ที่ไม่ควรมองข้าม ในการตรวจเช็คบ้าน ซึ่งบ้านแต่ละหลังแต่ละโครงการรายละเอียดหรือจุดแก้ไขก็จะไม่เหมือนกัน การเลือกผู้มีความรู้และประกบการณ์ในการตรวจเช็คบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบ้านเป็นทรัพย์สินที่มีราคาแพง ถ้าอยู่แล้วสบาย ไม่มีปัญหารบกวน ก็คงไม่มีใครอยากเปลี่ยนบ้านบ่อยๆ

เพราะปัญหาหลังจากการที่เข้าอยู่แล้วนั้น ป้องกันได้ด้วยการ ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน โดยผู้ชำนาญการจาก Home Check Up ยินดีให้บริการครับ

Download=> แจกฟรี !!! แบบฟอร์มตรวจดีเฟค บ้าน และคอนโด

 

10 จุดต้องตรวจ ก่อนหมดประกันบ้าน 1 ปี

ตรวจรับคอนโด ด้วยตัวเอง 

ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP1

ตรวจรับบ้าน ก่อนโอน ด้วยตัวเอง EP2

5 ระบบ ต้องตรวจก่อนโอนบ้าน

3 วิธี แก้ไขพื้นจอดรถทรุดตัว

สนใจบริการตรวจบ้านก่อนหมดประกัน 
Facebook : Homecheckup
LineID     : @homecheckup
IG             : homecheckup.ig
Tel            : 085-481-3536 (คุณกานต์)

Message us
error: Content is protected !!